เมนู

อรรถกถาคณกโมคคัลลานสูตร



คณกโมคคัลลานสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า ยาว ปจฺฉิมา
โสปานกเฬวรา
ได้แก่ จนกระทั่งพื้นบันไดขั้นแรก. พราหมณ์แสดง
ว่า ปราสาท 7 ชั้น ไม่อาจสร้างได้เพียงวันเดียวแต่ปรากฏการกระทำโดยลำ-
ดับ (ขั้นตอน) เริ่มแต่การแผ้วถางพื้นที่แล้วยกตั้งเสา จนกระทั่งเขียนภาพ
จิตรกรรม ในปราสาทนั้น. ด้วยบทว่า ยทิทํ อชฺเฌเน พราหมณ์แสดงว่า
พระเวทแม้ทั้ง 3 ก็ไม่อาจเล่าเรียนได้โดยวันเดียวเท่านั้น ก็แม้ในการเล่า
เรียนพระเวทเหล่านั้น ก็ย่อมปรากฏการกระทำโดยลำดับเช่นเดียวกัน. ด้วย
บทว่า อิสฺสตฺเถ พราหมณ์แสดงว่า แม้ในวิชาว่าด้วยอาวุธ ขึ้นชื่อว่านัก
แม่นธนู ก็ไม่อาจทำได้โดยวันเดียวเท่านั้น ก็แม้ในวิชาว่าด้วยอาวุธนี้ย่อม
ปรากฏการกระทำโดยลำดับ โดยการจัดแจงสถานที่และทำเป้า (สำหรับยิง)
เป็นต้น. บทว่า สงฺขาเน ได้แก่ โดยการนับ. ในข้อนั้น เมื่อแสดงการ
กระทำโดยลำดับด้วยตัวเอง จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า พวกข้าพระองค์ให้นับ
อย่างนี้.
ในคำที่ว่า เสยฺยถาปิ พฺราหฺมณ นี้ เพราะเหตุที่คนทั้งหลายเรียน
ศิลป ในลัทธิภายนอก โดยประการใดๆ ย่อมกลายเป็นคนเกเรไปโดยประการ
นั้น ๆ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงเปรียบเทียบศาสนาของพระองค์ด้วย
ลัทธิภายนอก หากทรงเปรียบเทียบด้วยม้าอาชาไนยแสนรู้ จึงตรัสว่า เสยฺยถา-
ปิ
ดังนี้เป็นต้น. อันม้าอาชาไนยแสนรู้ถูกเขาฝึกในเหตุใด ย่อมไม่ละเมิด
เหตุนั้น แม้เหตุแห่งชีวิตฉันใด กุลบุตรผู้ปฏิบัติชอบในพระศาสนา ย่อมไม่

ล่วงละเมิดขอบเขตแห่งศีล ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า มุขาธาเน แปลว่า
ที่เก็บปากม้า (บังเหียน)
บทว่า สติสมฺปชญฺญาย ได้แก่เพื่อประโยชน์คือความพร้อมเพรียง
ด้วยสติสัมปชัญญะทั้งหลาย. ก็เหล่าพระขีณาสพ มี 2 พวกคือ สตตวิหารี และ
โนสตตวิหารี ในพระขีณาสพ 2 พวกเหล่านั้น พระขีณาสพผู้สตตวิหารี แม้
กระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็อาจจะเข้าผลสมาบัติได้. ส่วนพระขีณาสพ
ผู้เป็นโนสตตวิหารี เป็นผู้ขวนขวายกิจในกิจการมีประมาณเล็กน้อย ก็ไม่อาจ
แนบสนิทผลสมาบัติได้ ในข้อนั้นมีเรื่องดังต่อไปนี้ เป็นตัวอย่าง ได้ยินว่า
พระขีณาสพองค์หนึ่ง พาสามเณรขีณาสพองค์หนึ่งไปอยู่ป่า. ในการอยู่ป่านั้น
เสนาสนะตกถึงพระมหาเถระ ไม่ถึงสามเณร. พระเถระวิตกถึงเรื่องนั้น ไม่
อาจทำแนบสนิทผลสมาบัติได้แม้แต่วันเดียว. ส่วนสามเณรทำเวลาทั้ง 3 เดือน
ให้ล่วงไปด้วยความยินดีในผลสมาบัติ ถามพระเถระว่า ท่านขอรับ การอยู่
ป่าเป็นความสบายหรือ ? พระเถระกล่าวว่า ไม่เกิดความสบายดอกเธอ. ดัง
นั้น เมื่อจะทรงแสดงว่า พระขีณาสพแม้เห็นปานนั้น อาจเข้าสมาบัติได้โดย
นึกถึงธรรมเหล่านี้ ตั้งแต่ตอนต้นทีเดียว จึงตรัสว่า สติสมฺปชญฺญาย จ
ดังนี้.
บทว่า เยเม โภ โคตม ความว่า ได้ยินว่า เมื่อพระตถาคตกำลัง
ตรัสอยู่นั่นแล นัยว่า บุคคลเหล่านี้ย่อมไม่สำเร็จ ดังนี้ เกิดขึ้นแก่พราหมณ์
เมื่อจะแสดงนัยนั้น จึงเริ่มกล่าวอย่างนี้.
บทว่า ปรมชฺชธมฺเมสุ ความว่า ธรรมของครูทั้ง 6 ชื่อว่าธรรม
อย่างแพะ และวาทะของพระโคดมสูงสุดอย่างยิ่งในธรรมเหล่านั้น. คำที่เหลือ
ในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถาคณกโมคคัลลานสูตรที่ 7

8. โคปกโมคคัลลานสูตร



ว่าด้วยเหตุที่ไม่มีใครถึงธรรมเท่าเทียมพระพุทธเจ้า



[105] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้วไม่นาน ท่านพระ-
อานนท์ อยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต
กรุงราชคฤห์ สมัยนั้น พระเจ้าอชาตสัตรู เวเทหิบุตร แห่งมคธรัฐ ทรง
ระแวงพระเจ้าปัชโชต1 จึงรับสั่งให้ซ่อมแซมกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระ
อานนท์นุ่งสบง ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ในเวลาเช้า-
ขณะนั้น ท่านมีความดำริดังนี้ ว่า ยังเช้าเกินควรที่จะเที่ยวบิณฑบาตในกรุง-
ราชคฤห์ก่อน ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาพราหมณ์ โคปกโมคคัลลานะยังที่
ทำงานและที่อยู่เถิด ครั้นแล้วท่านพระอานนท์จึงไปยังที่นั้น พราหมณ์
โคปกโมคคัลลานะแลเห็นท่านพระอานนท์เดินมาแต่ไกล จึงได้กล่าวกะท่าน
พระอานนท์ดังนี้ว่า นิมนต์เถิด ท่านพระอานนท์ ท่านมาดีแล้ว นานทีเดียว
ที่ท่านได้แวะเวียนมาที่นี่ นิมนต์นั่งเถิด นี่อาสนะแต่งตั้งไว้แล้ว ท่านพระ-
อานนท์นั่งบนอาสนะที่แต่งตั้งไว้แล้ว ฝ่ายพราหมณ์โคปกโมคคัลลานะก็ถือ
เอาอาสนะต่ำแห่งหนึ่งนั่งลง.
[106] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พราหมณ์โคปกโมคคัลลานะ ได้
กล่าวกะท่านพระอานนท์ดังนี้ ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ มีภิกษุสักรูปหนึ่งบ้าง
ไหมหนอ ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมทุก ๆ ข้อ และทุก ๆ ประการ ที่ท่านพระ
โคดมพระองค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธทรงถึงพร้อมแล้ว.
1. พระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนี.